หลักสูตร วท.บ. เทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 

[TH] / [EN]

ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ปรัชญา
วัตถุประสงค์
อาชีพที่สามารถประกอบได้
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษาเสนอแนะ
ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
เครือข่ายความร่วมมือ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ค่าใช้จ่าย
สถานที่เรียน
ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566)

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย)
Bachelor of Science (Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology)

ชื่อย่อ

วท.บ. (เทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย)
B.Sc. (Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
  • จำนวนหน่วยกิต 123 หน่วยกิต
  • หลักสูตรภาคปกติ 
  • สำเร็จการศึกษาภายใน 3.5 ปี (หลักสูตร 3 ปีครึ่ง)

ปรัชญา

ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัยในระดับสากล


เป้าหมาย

บัณฑิตบูรณาการข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary Integration)
บัณฑิตสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Creativity)
บัณฑิตนักปฎิบัติเชี่ยวชาญ (Professional Hands-On)
บัณฑิตผู้ประกอบการเริ่มต้น (Startup Entrepreneur)

เป้าหมายหลักสูตร HCAT

วัตถุประสงค์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะและเป็นพลเมืองที่ดี มีทัศนคติอันดีงามต่อการประกอบวิชาชีพและรับผิดชอบต่อสังคม
  2. มีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ คิด วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย และบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อรองรับการเป็นผู้ประกอบการเริ่มต้น
  3. มีความเชี่ยวชาญทักษะปฏิบัติ แสวงหาความรู้ เทคโนโลยีและวิวัฒนาการสมัยใหม่ในการพัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  4. ประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล การสื่อสารและนำเสนอข้อมูลโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม
  5. มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

อาชีพที่สามารถประกอบได้

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. ผู้ช่วยนักวิจัย นักวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  2. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง บุคลากรฝ่ายผลิตและฝ่ายควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  3. ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  4. ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย และผู้ผลิตและแปรรูปสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสมุนไพร
  5. ผู้แทนฝ่ายขาย ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้เชี่ยวชาญในบริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าและวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  6. อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า
  2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจคหกรรม หรือประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หรือประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ หรือประเภทวิชาอุตสาหกรรม
  3. สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาทุกสาขาวิชา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกประเภทวิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ศึกษาโดยการเทียบโอนผลการเรียน
  4. มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 หรือให้เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต
ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  ก.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย 3 หน่วยกิต
  ก.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 12 หน่วยกิต
  ก.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  ก.4 กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  ก.5 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  ก.6 กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
ข.  หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
  ข.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 19 หน่วยกิต
  ข.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ 53 หน่วยกิต
  ข.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต
ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตร

แผนการศึกษาเสนอแนะ

โครงสร้างหลักสูตรพร้อมรายวิชา  [View]

แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร  [View]

HCAT แผนการเรียน

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้

ชั้นปี
รายละเอียด
1
  1. เข้าใจความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาศาสตร์ และพื้นฐานวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง
  2. ปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอน และใช้อุปกรณ์ เครื่องมือพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
  3. ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

2

  1. ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัยได้อย่างเหมาะสม
  2. ออกแบบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสมุนไพรได้อย่างเหมาะสม
  3. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

3

  1. วิเคราะห์และประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย ตามมาตรฐานกำหนดได้อย่างถูกต้อง และประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเป็นผู้ประกอบการเริ่มต้นได้อย่างเหมาะสม
  2. สร้างสูตรผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย ได้อย่างเหมาะสม
  3. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ มีภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีมและรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

4

  1. สร้างสรรค์เทคโนโลยีสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัยได้อย่างเหมาะสม
  2. ใช้เครื่องมือและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และแสวงหาทักษะใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม
  3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แสดงภาวะผู้นำ และทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างเหมาะสม

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
  1. นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาในทุกหมวดวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และมีผลการศึกษาผ่านตามเกณฑ์การประเมินผลการศึกษา ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00
  2. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560

รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2566) ฉบับย่อ


รหัสหลักสูตร : 25650158000703
รหัสอ้างอิงเพื่อติดตาม : T20222094109350
สป.อว. ได้พิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตร ผ่านระบบ CHECO แล้ว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566

เครือข่ายความร่วมมือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีนโยบายให้ทุกหลักสูตรในระดับปริญญาตรีมีความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน ได้แก่

  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
  • กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • โรงพยาบาลยันฮี
  • สถาบันอาหาร
  • สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย
  • โรงพยาบาลสูงเนิน จ.นครราชสีมา
  • สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
  • บริษัท เจนโก้ เมดิคอล จำกัด
  • บริษัท เอ็มดีไลฟ์ไซเอนเซส จำกัด
  • บริษัท ธนัทเฮิร์บ พาณิชย์ จำกัด
  • เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน “รักษ์โคราช”
  • บริษัท สวนลุมไนท์ บาซาร์ รัชดาภิเษก จำกัด
  • วิสาหกิจชุมชนและภาคเอกชน (SE) 15 องค์กร
  • บริษัท Cannabird Pty  Ltd
  • บริษัท Cannim Group Australla Pty.Ltd
  • วิสาหกิจเกษตรวิถีท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร >> CLICK

ค่าใช้จ่าย

นักศึกษาไทย

  • ค่าบำรุงการศึกษา (เหมาจ่าย)  13,000 บาท/ภาคการศึกษา

สถานที่เรียน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศูนย์พระนครเหนือ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
เลขที่ 1381 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทร 02-8363000 ต่อ 4159


การเดินทาง

รถโดยสารประจำทาง : 543ก, 32, 33, 64, 203, 97


แผนที่ : https://goo.gl/maps/JCk7gwee5fgzwcxi8